บทที่ 7 การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม
ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
- เบราเซอร์ที่ใช้
- ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
- ความละเอียดของหน้าจอ
- จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
- ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
- ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์
- ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี
1.เบราเซอร์ที่ใช้
เบราเซอร์ที่ได้รับความนิยม Internet Explorer,Netscape Navigator,The World,Opera,Mozilla,Firefox
การออกแบบเว็บไซต์ตามคุณสมบัติของเบราเซอร์
- เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์ทุกรุ่น
- เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
- เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
- เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ
2. ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มาก โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิด และรุ่นของเบราเซอร์ที่ใช้ ระดับความระเอียดของหน้าจอ เป็นต้น
3. ความละเอียดของหน้าจอ
ความละเอียด 640*480 หมายถึง หน้าจอมีจุดพิกเซลเรียงตัวตามแนวนอน 640 พิกเซล และตามแนวตั้ง 480 พิกเซล
ความละเอียดหน้าจอจะไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของมอนิเตอร์ที่ใช้ แต่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ด
4. จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
- มอนิเตอร์สามารถแสดงสีที่แตกต่างกัน นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ
- หน่วยความจำในการ์ดจอที่มากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
- จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถแสดงได้ ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth หรือ color depth
ชุดสีสำหรับเว็บ หมายถึงชุดสีจำนวน 216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac
5. ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
เบราเซอร์จะแสดงฟอนต์ที่กำหนดไว้ในเว็บเพจได้ก้ต่อเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีฟอนต์เหล่านั้นติดตั้งอยู่ในเครื่อง
MS Sans Serif VS Microsoft Sans Serif
-MS Sans Serif เป็นฟอนต์แบบบิตแมพที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
- Microsoft Sans Serif เป็นฟอนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระแบบเวคเตอร์หรือลายเส้นโดยมีการออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดีแต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
บทที่ 8 เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
จากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดบรรยากาศและ
ความรู้สึกโดยตรงของเว็บไซต์
ความรู้สึกโดยตรงของเว็บไซต์
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
• สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในเว็บเพจ
• สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
• สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่างๆออกจากกัน
• สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
• สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
• ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่างๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อหา
• สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ
การผสมสี มี 2 แบบ คือ
1. การผสมสีแบบบวก(Addittive mixing)
จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ
การนำไปใช้ จะนำๆผใช้ในสื่อต่างๆ ที่ใช้แสงส่องออกมาเช่นโปรเจ๊กเตอร์
ทีวี และจอมอนิเตอร์
2. การผสมสีแบบลบ (Subtractive mixing)
การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เกี่ยวเน่องกับการดูดกลืนและ
สะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ การนำไปใช้ จะนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับ
การใช้วัตถุมีสี เช่นภาพวาดของศิลปิน รูปปั้นและสิ่งพิมพ์ต่างๆ
สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี (Tint,Shade and Tone)
** ในการผสมสีกลางเข้ากับสีบริสุทธิ์ จะเกิดเป็นสีต่างๆจำนวนมากมาย
- สีบริสุทธิ์ผสมกับสีขาว จะได้เป็นสีอ่อน
- สีบริสุทธิ์ผสมกับสีเทา จะได้เป็นโทนสีระดับต่างๆ
- สีบริสุทธิ์ผสมกับสีดำ จะได้เป็นสีเข้ม
** สีอ่อน สีเข้มและโทนสีมีประโยชน์อย่างมากในการจัดชุดของสี
เพราะทำให้สีสีหนึ่งสามารถแสดงออกและให้ความรู้สึกได้หลายแบบยิ่งขึ้น
ความกลมกลืนของสี (Color Harmony)
** ความเป็นระเบียบของสี ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงสมดุลและความสวยงาม
ในเวลาเดียวกัน การใช้สีที่จืดชืดเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อและ
ไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย
ขาดระเบียบและอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม ** เป้าหมายในเรื่องสี คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่
เข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม
• สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในเว็บเพจ
• สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
• สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่างๆออกจากกัน
• สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
• สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
• ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่างๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อหา
• สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ
การผสมสี มี 2 แบบ คือ
1. การผสมสีแบบบวก(Addittive mixing)
จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ
การนำไปใช้ จะนำๆผใช้ในสื่อต่างๆ ที่ใช้แสงส่องออกมาเช่นโปรเจ๊กเตอร์
ทีวี และจอมอนิเตอร์
2. การผสมสีแบบลบ (Subtractive mixing)
การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เกี่ยวเน่องกับการดูดกลืนและ
สะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ การนำไปใช้ จะนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับ
การใช้วัตถุมีสี เช่นภาพวาดของศิลปิน รูปปั้นและสิ่งพิมพ์ต่างๆ
สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี (Tint,Shade and Tone)
** ในการผสมสีกลางเข้ากับสีบริสุทธิ์ จะเกิดเป็นสีต่างๆจำนวนมากมาย
- สีบริสุทธิ์ผสมกับสีขาว จะได้เป็นสีอ่อน
- สีบริสุทธิ์ผสมกับสีเทา จะได้เป็นโทนสีระดับต่างๆ
- สีบริสุทธิ์ผสมกับสีดำ จะได้เป็นสีเข้ม
** สีอ่อน สีเข้มและโทนสีมีประโยชน์อย่างมากในการจัดชุดของสี
เพราะทำให้สีสีหนึ่งสามารถแสดงออกและให้ความรู้สึกได้หลายแบบยิ่งขึ้น
ความกลมกลืนของสี (Color Harmony)
** ความเป็นระเบียบของสี ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงสมดุลและความสวยงาม
ในเวลาเดียวกัน การใช้สีที่จืดชืดเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อและ
ไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย
ขาดระเบียบและอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม ** เป้าหมายในเรื่องสี คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่
เข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม
บทที่ 10 การจัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์
ตัวอักษรมีความสำคัญในการสื่อข้อความถึงผู้ใช้
- แต่ละชนิดจะให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน ควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสมกับเนื้อหา
รูปแบบตัวอักษร แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. ตัวอักษรที่มีขนาดสัมพันธ์กับรูปร่าง หรือตัวอักษรที่มีขนาดไม่คงที่
- ตัวอักษรแต่ละตัวมีพื้นที่ตามแนวนอนไม่เท่ากัน ขึ้นกับรูปร่างของตัวอักษรนั้น
- สิ่งพิมพ์ที่ผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้ตัวอักษรนี้เพื่อให้ดูเหมาะสมและอ่านง่าย
2. ตัวอักษรที่มีขนาดคงที่
- มีพื้นที่ตามแนวนอนเท่ากันหมด เป็นรูปแบบที่เรียบง่าย คล้ายตัวพิมพ์ดีด
ตัวอักษรประเภท serif และ sans-serif
ตัวอักษรประเภท serif
- มีลายเส้นเพิ่มขึ้นที่ส่วนปลาย
- เช่น Times New Roman , Garamond, Georgia เป็นต้น
- เหมาะจะใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดเนื้อหา ไม่เหมาะกับการใช้เป็นตัวหนา
ตัวอักษรประเภท sans-serif
- ไม่มีลายเส้นตกแต่งติดอยู่กับตัวอักษร
- เช่น Arial, Verdana, Geneva
- เหมาะที่จะใช้กับหัวข้อหรือตัวอักษรขนาดใหญ่
- ไม่เหมาะกับลักษณะเอียงเพราะจะทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปมาก
ความสะดวกในการอ่าน (Legibility)
- หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะจะทำให้อ่านยาก และลดความสะดุดตาลง
- การใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดในประโยค จะสร้างความรู้สึกไม่เป็นทางการ และแสดงถึงความไม่ สมบูรณ์ของเนื้อหา
- ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับตัวอักษรแรกของแต่ละคำในประโยค ควรใช้อย่างจำกัด
- สิ่งที่ไม่ควรทำคือการแบ่งครึ่งตัวอักษร เพราะจะทำให้ภาพรวมของตัวอักษรขาดหายไป และ ยากต่อการอ่าน
การจัดข้อความในหน้าเว็บ
การจัดตำแหน่ง -
ในภาษา HTML สามารถจัดตำแหน่งตัวอักษรได้ด้วยคำสั่ง Align และสามารถเลือกค่าเป็น left, right, center, justify ช่วงว่างระหว่างตัวอักษร และช่วงว่างระหว่างคำ
- ตัวอักษรบางคู่ที่อยู่ติดกันอาจมีระยะที่ไม่เหมาะสม จึงต้องมีการ Kerning เพื่อที่สายตาจะได้
- การจัดตำแหน่งแบบ justify ทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สวยงามได้ ระยะห่างระหว่างบรรทัด
- เนื้อหาที่มีปริมาณมาก ควรมีระยะห่างระหว่างบรรทัดมาก เพื่อเพิ่มความสะดวกในการอ่านเป็น เวลานาน
ความยาวหน้าเว็บ
- หน้าเว็บที่ยาวมากๆ จะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหนื่อยล้าที่จะอ่าน
- ควรจัดแบ่งเป็น paragraph หรือตัดแบ่งเป็นหลายๆหน้า
ขนาดของตัวอักษร
- ใช้ตัวอักษรหลายขนาดเพื่อสร้างลำดับความสำคัญของข้อมูล
- ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่เริ่มต้นประโยค และอาจใช้รูปแบบของการสลับสี
การเน้นข้อความให้เด่นชัด
- ใช้ขนาดและน้ำหนักของตัวอักษร การทำตัวเอียง ขีดเส้นใต้ ตำแหน่งของตัวอักษร แนวทาง ของตัวอักษร พื้นที่ว่าง
การใช้สีกับตัวอักษร
- กำหนดสีหลักสำหรับเว็บ
- ใช้สีของตัวอักษรอย่างมีความหมายสม่ำเสมอ
- ใช้สีที่แตกต่างกันในแต่ละส่วนของข้อมูล
- กำหนดสีของ link ให้เหมาะสม
การกำหนดขอบแบบ Aliased และ Anti-aliased
- Aliased คือลักษณะขอบที่เป็นรอยหยักๆ
- Anti-aliased ใช้เทคนิคของโทนสีเข้ามาช่วย ด้วยการเพิ่มสีที่อยู่ระหว่างสีของตัวอักษรจะทำให้ ขอบดูเรียบขึ้น
คำแนะนำในการใช้ตัวอักษรในเว็บเพจ
- ไม่ควรใช้ตัวอักษรที่หายากหรือไม่ได้มาพร้อมกับโปรแกรมต่างๆ